เมื่อพูดถึง โรตี ชาชัก คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าเป็นอาหารประเภท สตรีทฟู้ด แต่สำหรับแบรนด์ นายหัวพลัส โรตี-ชาชัก จับธุรกิจนี้อัพเกรด ยกระดับเข้าสู่ห้างสรรพสินค้า

สภาพร เล่าว่าเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วยังไม่มีร้านโรตีชาชักเปิดขายในห้างสรรพสินค้ามาก่อน ขณะที่ช่วงนั้นทำเล Community Mall กำลังเติบโต สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนเมืองก็นิยมออกมากินข้าวตามร้านอาหารในห้างฯ กันมากขึ้น เมื่อเห็นช่องว่างและโอกาสเติบโตในตลาด เธอจึงเริ่มลงมือทำธุรกิจนี้ โดยมีเป้าหมายจะเปิดขายในห้างฯ ตั้งแต่ต้น โดยสูตรโรตีก็ได้มาจากทางครอบครัวและญาติที่อยู่ทางภาคใต้ ก่อนนำมาพัฒนาดัดแปลงให้เข้ากับทุกคน

ด้วยความที่โรตีชาชักเป็นอาหารที่ไม่ได้ดูหรูหรามากนัก ซึ่งอาจจะไม่เข้ากับกลุ่มลูกค้าเดินห้างฯ หากไปขอเช่าพื้นที่เปิดร้านก็อาจจะถูกปฏิเสธได้ ทำให้สุภาพร ต้องปรับปรุงทั้งในแง่ของสูตรให้มีหลากหลาย ให้ความสำคัญเรื่องความสะอาด โดยเลือกใช้วัตถุดิบชั้นดีเพื่อสร้างจุดต่างจากร้านตามท้องตลาดทั่วไปที่เน้นเรื่องของราคาถูกเป็นหลัก

“เนื่องจากว่าเราเป็นแบรนด์ใหม่ จึงต้องมีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ ทั้งการอาหารและการบริการ โดยเฉพาะการชงชาชักที่ต้องทำใสวยงาม ตรึงตาลูกค้าได้” สุภาพร กล่าวเสริม

จากการวางแผนธุรกิจมาอย่างดี ทำให้สาขแรกมีผลตอบรับที่ดีมีลูกค้าหนาแน่น จนเริ่มขยายสาขา 2 ที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ ในเวลาไม่ถึงปี สาขานี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเพราะด้วยพื้นที่ที่กว้างกว่าสาขาแรก ทำให้สามารถตกแต่งร้านให้โดดเด่นเป็นที่สนใจของกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ นั่นเองจึงส่งผลให้ห้างฯ อื่นๆ ติดต่อขอเสนอพื้นที่ให้ไปเปิดร้านอย่างต่อเนื่อง
พอดำเนินธุรกิจมาได้ 5 ปี สุภาพรก็ทำการรีแบรนด์ เริ่มจากเปลี่ยนโลโก้ร้าน จากเดิมที่เป็นรูป “นายหัวตัวผอม” ก็ใช้เป็น “นายหัวตัวอ้วน” แทน พร้อมออกแบบลายแพ็คเกจจิ้งให้ให้ดูทันสมัย ส่วนของชื่อร้านนั้นมาจาก คำที่ใช้เรียกเพื่อนที่อยู่ทางภาคใต้ว่า “นายหัว” ซึ่งเข้ากับโรตีชาชักที่มาจากท้องถิ่นที่นั่นเช่นกัน
“เทรนด์การกินในตอนนั้นจนถึงปัจจุบัน ลูกค้าไม่ได้แค่ซื้อมากินอย่างเดียว แต่เขาซื้อไลฟ์สไตล์ด้วย เราก็ต้องมีออกเมนูที่ทันกระแสและแพ็คเกจจิ้งที่ดูดี ไม่ใช่ขายโรตีแบบเชยๆ”

สำหรับเมนูของหวาน ก็จะมีโรตีรสชาติดั้งเดิม คือ ใส่ไข่ กับ กล้วยราดช็อกโกแลต และโรตีแบบฟิวชั่น ที่เป็นไส้มะตะบะ หรือไส้ผลไม้ อย่างสตรอว์เบอร์รี่ ลูกเกด รวมแล้วมีกว่า 45 หน้า เครื่องดื่มก็จะมีทั้ง ชาชัก กาแฟ โกโก้ ชาเขียว ชามะนาว เป็นต้น พร้อมทั้งการคิดเมนูใหม่ๆ ที่ล้อไปกับกระแสโลก เช่น บัตเตอร์เบียร์แฮรี่พอตเตอร์ ที่เพิ่มเข้ามาเพื่อเอาใจกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบภาพยนตร์ โดยราคาของเมนูทั้งหมดเริ่มต้นที่ 30 บาท

สำหรับรูปแบบการลงทุนก็มีให้เลือกถ 4 แบบ
1.เครื่องดื่ม-กาแฟสด 200,000 บาท ค่าประกันแบรนด์ 50,000 บาท และมีค่า Royalty Fee เรียกเก็บต่อปี 50,000 บาท
2.เครื่องดื่ม-กาแฟสด-โรตี 350,000 บาท ค่าประกันแบรนด์ ราคา 100,000 บาท และมีค่า Royalty Fee เรียกเก็บต่อปี 70,000 บาท
3.เครื่องดื่ม-กาแฟสด-ขนมปังสังขยา 350,000 บาท ค่าประกันแบรนด์ ราคา 100,000 บาท และมีค่า Royalty Fee เรียกเก็บต่อปี 70,000 บาท
4.เครื่องดื่ม-กาแฟสด-โรตี-ขนมปังสังขยา 400,000 บาท ค่าประกันแบรนด์ ราคา 100,000 บาท และมีค่า Royalty Fee เรียกเก็บต่อปี 90,000 บาท
โดยทั้ง 4 แบบจะงดเรียกเก็บใน 2 ปีแรกของอายุสัญญา 5 ปี กำไรต่อเมนู 30 – 40% เฉลี่ยยอดขายแต่ละสาขาอยู่ที่ 200,000 – 800,00 บาทต่อเดือนตามขนาดร้าน ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 1 ปีครึ่ง

ปัจจุบัน “นายหัวพลัส โรตีชาชัก” ถือว่าเป็นเจ้าเดียวในประเทศที่เปิดขายในห้างฯ อย่างเต็มรูปแบบ ที่มีใกล้เคียง คือ ร้านที่ขายในบูธ ตามงานอีเวนท์ต่างๆ แทบไม่มีคู่แข่งในตลาดนี้
“ก่อนทำธุรกิจอะไรก็ตาม ควรมองหาช่องว่างในตลาดว่าอะไรเป็นสิ่งแปลกใหม่ ยังไม่มีใครทำมาก่อน หรือรู้จักพลิกแพลงของเดิมให้ทันสมัย เพราะถ้าจะทำในสิ่งที่คนอื่นทำอยู่แล้ว เราพึ่งจะเริ่มก็ช้าไปตามเขาไม่ทัน ฉะนั้นจะต้องคิดก่อนคู่แข่งก้าวหนึ่งเสมอ แล้วลงมือทำอย่างตั้งใจและทุ่มเท อดทนกับมัน สักวันจะต้องประสบความสำเร็จแน่นอน”
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook : @RotiNaihua
บทความแฟรนไชส์อื่นๆ คลิก