New S-Curve ก้าวย่างใหม่ของระบบเศรษฐกิจไทย


ดร.อุตตม สาวนายน รมต.อุตสาหกรรม กล่าวในงาน ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 9 อุตสาหกรรม ก้าวไกล ขยายโอกาสอุตสาหกรรม 4.0 ก้าวทัน ก้าวไกล ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ประเทศไทยอยู่ในช่วงความพร้อมมี โอกาสมา มีความสงบ เศรษฐกิจเริ่มฟื้น แต่โครงสร้างเศรษฐกิจของไทยจะโตที่ด้านบนก่อนแล้วถึงใช้เวลาโตลงมาข้างล่าง ไม่ว่าจะค้าขายในระดับแบบไหน หมู่บ้าน ชุมชน ตลาดคือทั่วโลก ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ส่วนที่สอง ก็คือ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเศรษฐกิจไทย สามารถเข้าตลาดใหม่ได้เลย โดยใช้ตลาดอีคอมเมิร์ซ

โครงการเศรษฐกิจต้องปรับปรุงใหม่

  • ต้องฐานความเจริญใหม่
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • กระจายความเจริญเติบโตอย่างทั่วถึงและครอบคลุม

อุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นแรงขับเคลื่อน

10-15 ปีที่ผ่านมา พบว่า การลงทุนของประเทศ 3/4 เป็นการลงทุนทดแทน ซ่อม เปลี่ยนพาร์ทเครื่องจักร 1/4 ซื้อเครื่องจักรใหม่ และยังเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จึงเป็นสาเหตุที่บอกว่าประเทศไทยไม่มีการลงทุนใหม่ ทางด้านอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาในเมืองไทย ต้องไม่ใช่แค่จ้างประกอบ แต่ต้องเป็นการพัฒนา และทำขึ้นใหม่ อย่าง รถยนต์ไฟฟ้า ต้องทำแบตเตอรี่ด้วย รวมทั้งในอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Economy) สามารถทำได้ทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร อย่าง อ้อย ทำอย่างมากก็คือ น้ำตาล แต่ในอุตสาหกรรมใหม่ สามารถผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมชีวภาพ อาหารผู้สูงวัย หรืออาหารสุขภาพ โดยเริ่มต้นในขอนแก่น นครสวรรค์ กำแพงเพชร ชลบุรี-ระยอง และอีกหลายอุตสาหกรรมที่ต้องเตรียมพร้อม ทั้งนี้นวัตกรรมเปิดโอกาสให้กับคนตัวเล็ก

เครือข่ายอุตสาหกรรมประชารัฐ

  • ภาครัฐ
  • ภาคการศึกษา
  • ภาคประชาชน
  • ภาคเอกชน

กลุ่มอุตสาหกรรมระยะแรก

  • เศรษฐกิจชีวภาพ bioeconomy
  • ศูนย์กลางความเป็นเลิศชีวภาพ (Center of bio exc)
  • การแปรรูปอาหาร
  • ยานยนต์ไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในอุตสาหกรรม 4.0 กับประเทศชั้นนำ ไทย-ญี่ปุ่น-เยอรมัน รวมทั้ง “สัตหีบโมเดล” พัฒนาสายอาชีพ โดยเน้นอาชีวะ 14 สถาบัน, KOSEN ปั้น Startup ขับเคลี่อนนวัตกรรมระดับพื้นที่ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา และนิคมอุตสาหกรรมอมตะ, ญี่ปุ่นเข้ามาทำ Flex Campus โดยไม่ยึดติดกับปริญญา โดยดูจากแนวโน้มเทคโนโลยีเป็นหลักว่าแต่ละปีจะเน้นอะไร ซึ่งจะทำให้ EEC กลายเป็นโมเดลต้นแบบ และจะขยายไปที่อื่นๆ อย่าง SEC