จีนหวังพลิกบทบาทวงการแผนที่โลก นำข้อมูลขึ้น บล็อกเชน


Hyperion คือระบบทำแผนที่บน บล็อกเชน แบบเปิด มีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ในการพลิกโฉมวงการทำแผนที่ทั่วโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีอันโดดเด่นในการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วมในการสร้าง ปรับปรุงแก้ไข หรือใช้ประโยชน์จากแผนที่โลก ผ่านการกระจายศูนย์บนบล็อกเชนเต็มรูปแบบ นั่นหมายถึงข้อมูลแผนที่จะกลายเป็นข้อมูลอิสระที่เข้าถึงได้โดยไม่มีใครมาคอยควบคุม

แอปพลิเคชั่นแผนที่กว่า 2 ล้านใช้ข้อมูลจากแหล่งเดียวกัน

ทุกวันนี้มีแอปพลิเคชันเกี่ยวกับแผนที่กว่า 2 ล้านตัว ส่วนใหญ่ก็ทำงานอยู่บน Google Maps จะมีก็แอปพลิเคชันของจีนที่จะเลือกใช้ Gaode, Baidu และ Tencent ซึ่งจะพบว่าการใช้งานแผนที่นั้นถูกควบคุมโดยยักษ์ใหญ่บางรายเท่านั้น สิ่งนี้ก่อให้เกิดระบบที่มีผู้ควบคุมและทำงานในลักษณะรวมศูนย์ สำหรับการบริหารจัดการและเข้าถึงข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญ มีโอกาสของความไม่โปรงใส การหารายได้ก็มีเรื่องของการผูกขาด นั่นทำให้ Hyperion เล็งเห็นถึงโอกาสในการพลิกโฉมระบบการทำงานแบบผูกขาดนี้

อุตสาหกรรมแผนที่ทุกวันนี้มีข้อกำหนดด้านเทคนิคสูง ทั้งยังมีอุปสรรคกีดกั้นการทำตลาด ซึ่งก็คือความท้าทายในการรวบรวมข้อมูลทำแผนที่ให้ครบทุกเมือง หมู่บ้าน และสิ่งปลูกสร้างทั่วโลก อย่างไรก็ดี Hyperion ได้เลือกต่อยอดคลังข้อมูลขนาดใหญ่บน Mapxus แพลตฟอร์มทำแผนที่แบบเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งผู้ก่อตั้ง Hyperion ได้สร้างขึ้นในปี 2559 จนทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสร้างแผนที่ของบริษัทบนชั้นฐานข้อมูลดังกล่าว จะก่อให้เกิดระบบแบบเปิดที่ทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นตัวเลือกแทนระบบทำแผนที่แบบมีผู้ควบคุมและผูกขาดอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

เปลี่ยนระบบแผนที่ใหม่เป็น บล็อกเชน ไม่ให้ใครผูกขาด

ระบบนิเวศใหม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีแผนที่ ในเรื่องของต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่ให้ทันสมัยมีรายละเอียดครบถ้วน แบบเดิมเป็นการอาศัยโมเดล  top-down ทำให้ต้นทุนสูงและไม่ได้ประสิทธิภาพ เพราะบริษัทผู้ให้บริการแผนที่หรือรัฐบาลต้องส่งเจ้าหน้าที่จำนวนมากไปลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล เรื่องต่อมาคือโมเดลที่ใช้ในปัจจุบันนั้นยากต่อการยืนยันว่า ตัวแผนที่มีความถูกต้องแม่นยำและอัปเดตข้อมูลใหม่อยู่ตลอดเวลาหรือไม่ และข้อที่สำคัญที่สุดคือโครงสร้างพื้นฐานของแผนที่ในปัจจุบันถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปในการเข้าถึงหรือใช้งานแผนที่เหล่านี้

Hyperion ทำการแก้ปัญหาเรื่องทั้งหมดที่กล่าวมาด้วยโมเดลที่เรียกว่า ‘Hyperion Trinity’ ซึ่งประกอบด้วย

(1) เทคโนโลยีการจัดทำแผนที่แบบเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่

(2) แบบจำลองทางเศรษฐกิจในการสร้างแรงบันดาลใจและมอบผลตอบแทนให้กับผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนที่

(3) โครงสร้างชุมชนเพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สามารถปกครองตนเองได้

ตอนนี้ข้อมูลแผนที่ของ Hyperion ครอบคลุมพื้นที่กลางแจ้งทุกตารางนิ้วทั่วโลก อีกทั้งยังมีแผนที่สำหรับข้อมูลภายในอาคารกว่า 2,000 แห่ง รวมกว่า 1 แสนตารางเมตร ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะขยายขึ้นอีกเป็นเท่าตัวผ่านการพัฒนาโครงการเพิ่มเติม โดยในอนาคต Apps อีกกว่า 1 ล้านตัว เพื่อก้าวขึ้นเป็นบล็อกเชนสาธารณะด้านแผนที่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนชั้นนำอย่าง Hayak, Dfund, Float Capital, Du Capital, Biaozhun Capital และ Collinstar Capital

ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดในวงการ

ทีมงานของ Hyperion ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับอาวุโสด้านระบบแผนที่บนบล็อกเชน ประกอบด้วย ดร. ไอแซค จาง ซีอีโอของ Hyperion ซึ่งเป็นอดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Mapxus แพลตฟอร์มแผนที่ภายในอาคารแบบกระจายศูนย์รายใหญ่ของจีน, อีริค ฮวง ซีโอโอของ Hyperion ซึ่งสร้างชื่อเสียงจากการใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบกระจายขนาดใหญ่ อีกทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Mobvista แพลตฟอร์มโมบายล์มาร์เก็ตติ้งที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย, ซู กว่างเซียน ซีทีโอของ Hyperion ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเกมของ Netease และเป็นอดีตผู้ร่วมก่อตั้ง AIPAI หนึ่งในแพลตฟอร์มวิดีโอแชริ่งที่ใหญ่ที่สุดในจีน, ไก หลอ ซีเอ็มโอของ Hyperion ผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท 2 ใบในหลักสูตรสื่อและธุรกิจจาก Loughborough University สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Liuxuebao แพลตฟอร์ม SAAS เพื่อการศึกษาต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย

เทคโนโลยีบล็อกเชนไม่ได้มีเอาไว้สำหรับทำเงินสกุลดิจิทัลเท่านั้น นี่คือเทคโนโลยีที่เอาไว้ตัดตัวกลางออกจากทุกธุรกิจ หรือเป็นการเปลี่ยนจากการรวมศูนย์ไปเป็นการกระจายศูนย์อย่างสมบูรณ์แบบนั่นเอง