รู้จัก “ฉลากเขียว” เครื่องหมายช่วยสะท้อนความยั่งยืนของแบรนด์ต่อสิ่งแวดล้อม
ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD)
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พูดถึงกรณีหากถูกงูกัดว่าการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง คือ ต้องล้างแผลด้วยน้ำสะอาด เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด และให้ใช้กระดาน กระดาษแข็ง รองดามไว้ หลังจากนั้นให้พาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ซึ่งความเข้าใจที่ว่าหากโดนงูกัดแล้วให้ดูดแผลเพื่อเอาเลือดที่มีพิษงูออกจากแผล หรือกรีดแผลแล้วพอกยา เหล่านี้เป็นเรื่องที่เข้าใจกันผิดมาตลอด เพราะหากทำอย่างที่กล่าวมายิ่งจะทำให้แผลสกปรก เกิดการติดเชื้อ และอาจเป็นบาดทะยักได้
หากทำการปฐมพยาบาลแบบขันชะเนาะ โดยการใข้ผ้าหรือเชือกควรรัดเหนือบริเวณที่ถูกงูกัดให้แน่นพอสอดนิ้วได้ แล้วคลายออกทุก 15 นาที จะช่วยลดปริมาณพิษงูได้เพียงเล็กน้อย อาจได้ประโยชน์บ้างในกรณีที่เป็นงูพิษที่มีผลต่อระบบประสาท และไม่สามารถไปพบบุคลากรทางการแพทย์ได้ในเวลาอันสั้น แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ทำ เนื่องจากมักทำไม่ถูกวิธี รัดแน่นและนานเกินไป ทำให้เนื้อเยื่อตายจากการขาดเลือด และยังห้ามทำในกรณีที่เป็นงูพิษต่อระบบเลือด เพราะจะทำให้มีการบวมและเลือดออกบริเวณแผลมากขึ้น จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ในปี 2558 มีรายงานผู้ถูกงูกัด 4,618 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต พบมากในช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว ผู้ป่วยสูงสุดในเดือนตุลาคม
ทั้งนี้ หากถูกงูกัด สามารถสังเกตว่าเป็นงูพิษหรือไม่ โดยดูจาก 1.รอยเขี้ยว มี 2 ข้าง และมีอาการบวมแดงรอบ ๆ รอยกัด บางครั้งอาจเห็นเพียงรอยเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกกัดบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือบางครั้งอาจเห็นมากกว่า 2 รอยในกรณีที่ถูกกัดมากกว่า 1 ครั้ง 2.อาจมีอาการปวดอย่างรุนแรง 3.คลื่นไส้อาเจียน 4.หายใจติดขัด หากรุนแรงอาจหยุดหายใจได้ 5.สายตาขุ่นมัว 6.มีน้ำลายมากผิดปกติ และ7.หน้าชาไม่รู้สึกหรือชาตามแขนขา โดยพิษนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของงู เช่นงูเห่างูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา จะมีพิษต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหนังตาตก กลืนลำบาก พูดไม่ชัด และหยุดหายใจ