4 วิธีการบริหารสต๊อกสินค้า เพิ่มยอดขายและลดสินค้าค้างสต็อก


ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่ไม่ได้มีเงินทุนหมุนเวียนหรือเงินสำรองอะไรมากนัก การบริหารสต็อกสินค้า ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการขาดทุนมานักต่อนักแล้ว ยิ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหม่จะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลานาน เพราะยังขาดประสบการณ์ในการคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภค  

ยกตัวอย่างในเรื่องของ “สินค้าขาดสต็อก สินค้าล้นสต็อก” ให้เข้าใจง่าย

บริษัทหนึ่ง จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวน 100 รายการ มีสินค้าที่ขายดีได้รับความนิยมประมาณ 20 รายการ (สินค้าหลัก) ให้ยอดขายสูงถึง 80% จากสินค้าทั้งหมด สินค้ากลุ่มนี้ขายดีมักจะขาดสต็อก ปัญหาต่อมา สินค้าล้นสต๊อก ในส่วนนี้จะอยู่ในกลุ่มสินค้า 80 รายการ ที่เป็นสินค้าไม่ได้รับความนิยม อาจเกิดจากการสำรวจตลาดที่ผิดพลาดหรือเจาะกลุ่มเป้าหมายไม่ตรงจุด ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาและวิธีการป้องกันปัญหานี้ คือ

1.วางแผนล่วงหน้า 1 เดือน เป็นอย่างน้อย

ผู้ประกอบการต้องคาดการณ์แนวโน้มความต้องการของสินค้าหลักเห็นภาพรวมคลังสินค้าว่ามีการเข้า ออกอย่างไร สินค้าชนิดใดขายดีในช่วงไหน หรือกับกลุ่มเป้าหมายไหน ซึ่งการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายก็มีหลายวิธี เช่น การจัดโปรโมชั่นล้างสต็อกนอกจากจะทราบถึงสินค้ายอดนิยมที่ชัดเจนแล้ว ยังช่วยเพิ่มยอดขายให้สูงมากขึ้นด้วย

2.สำรวจสินค้าในสต็อกอยู่เสมอ

ลดความเสี่ยงสินค้าขาดหรือล้นสต็อกไม่ทันตั้งตัว เพราะความเป็นระบบจะช่วยให้รู้ว่าสินค้าแต่ละชนิดมีความเร็วในการขายอย่างไร หมดเร็วแค่ไหน ควรสั่งเพิ่มเมื่อสินค้าเหลือเท่าใด เพราะการขาดสินค้าเมื่อลูกค้าต้องการ ทำให้ลูกค้าไปหาสินค้าจากเจ้าอื่น และอาจทำให้เสียลูกค้าอีกด้วย

3.จัดระบบสินค้าภายในสต็อก

การจัดระบบภายในสินค้าควรแบ่งหมวดสินค้าให้ชัดเจน เช่น สินค้าที่มีระยะเวลาการเก็บรักษาจำกัด สินค้าหลัก สินค้าค้างสต๊อก เพื่อให้ทราบถึงปริมาณ ลดการสูญเสียสินค้าที่หมดอายุจากการไม่ได้นำมาขาย หรือสามารถจัดโปรโมชั้นเพื่อเพิ่มยอดขาย

4.คำนวณต้นทุน

การคำนวณต้นทุนตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นผลิตถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น และทราบถึงราคาขายตั้งราคาได้อย่างเหมาะสม รู้ว่าควรขายอะไรจึงจะได้กำไรที่คุ้มค่าที่สุด