จับตา พลังงานไฮโดรเจน ความมั่นคงด้านพลังงานไทยในอนาคต
ปัจจุบันทั่วโลกต่างพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานสะอาดในหลายด้าน เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม การพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนความจุสูงสำหรับการเก็บพลังงาน การสร้างระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ การใช้พลังงานชีวภาพ เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน เพื่อผลักดันโลกไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นเดียวกับ “พลังงานไฮโดรเจน” ที่กำลังเป็นพลังงานทดแทนที่ได้รับความสนใจอย่างมากในระดับโลก เนื่องจากมีศักยภาพในการช่วยลดมลพิษและส่งเสริมความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม พลังงานไฮโดรเจน สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ 1. เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม 2. กระบวนการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ โดยไฟฟ้าที่ใช้มีต้นกำเนิดมาจากพลังงานนิวเคลียร์ หรือที่เรียกว่าไฮโดรเจนสีชมพู (Pink Hydrogen) และ 3. กระบวนการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำโดยไฟฟ้ามาจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม หรือที่เรียกว่าไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ซึ่งการเลือกใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันนั้นก็ทำให้ได้ไฮโดรเจนที่มีความแตกต่างกันอีกด้วย โดยปัจจุบันการผลิตไฮโดรเจนสีชมพูและสีเขียวมีสัดส่วนเพียง 1% ของไฮโดรเจนที่ใช้งานทั่วโลก ข้อดีของพลังงานไฮโดรเจน คือ 1. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พลังงานไฮโดรเจนสามารถผลิตได้โดยปราศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหากใช้แหล่งพลังงานสะอาดในการผลิต 2. แหล่งพลังงานที่หลากหลาย ไฮโดรเจนสามารถผลิตได้จากน้ำและวัตถุดิบอื่น ๆ ทำให้ลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานฟอสซิล และ 3. […]