Gen Z กำลังเปลี่ยนโลก “ค้าปลีก” อย่างไรให้รอดในยุคความยั่งยืน
ปัจจุบันผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้เลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าด้วยเหตุผลเพียงแค่คุณภาพสินค้าและบริการที่เป็นมิตรอีกต่อไป พวกเขาให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น และต้องการสนับสนุนธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ครั้งนี้จึงขอนำข้อมูลวิธีปรับตัวสู่การเป็น SME ธุรกิจค้าปลีกที่ยั่งยืน ดังนี้ รายงานจาก FMCG Gurus ระบุว่า 32% ของผู้บริโภคพยายามหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ข้อมูลจาก Euromonitor พบว่า 60% ของผู้ซื้อเลือกซื้ออาหารที่มีผลกระทบต่อโลกน้อยลง โดยพวกเขาให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่มีจริยธรรม การลดการปล่อยคาร์บอน และการสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ความยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวโน้ม แต่กำลังกลายเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผู้บริโภคในปัจจุบันเลือกใช้เงินของพวกเขาเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกจากนั้น การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนยังสามารถสร้างโอกาสทางการตลาดและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้าได้อีกด้วย ความยั่งยืนในธุรกิจค้าปลีกคืออะไร การเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ยั่งยืนหมายถึงการพิจารณาหลายปัจจัย ตั้งแต่การเลือกแบรนด์สินค้าที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไปจนถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือย่อยสลายได้ง่าย การสนับสนุนค่าจ้างที่เป็นธรรมแก่พนักงาน และการใช้พลังงานสะอาดเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของความยั่งยืน Richard Werren ผู้อำนวยการฝ่ายอาหารและค้าปลีกของ BSI กล่าวว่า ผู้ค้าปลีกอิสระเริ่มตระหนักว่าความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภค และกลายเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีผลต่อการแข่งขัน ข้อมูลจากการวิจัยของ BSI ชี้ว่า 62% ของผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจกับคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับความยั่งยืนเมื่อเลือกซื้อสินค้า บวกกับ Gen Z กำลังเปลี่ยนตลาดค้าปลีก ซึ่งคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รายงาน Net Zero Barometer 2024 […]