แนวทางสู่ Sustainable Sourcing ในธุรกิจเนื้อสัตว์แปรรูป-อาหารทะเลแปรรูป-ขนมหวาน
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ระบุว่า การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน (Sustainable Sourcing) ในแต่ละกลุ่มสินค้าสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามหลักการสำคัญหลายประการซึ่งมีความเหมือนและแตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่มสินค้า โดยอาจมุ่งเน้นไปในด้านการจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดการบุกรุกพื้นที่ป่า การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และสวัสดิภาพแรงงาน โดยในแต่ละสินค้าที่ควรปรับตัวก่อนมีรายละเอียดดังนี้ ผู้ประกอบการกลุ่มเนื้อไก่แปรรูป ผู้ประกอบการกลุ่มเนื้อไก่แปรรูปควรปรับตัวทั้งในด้านมิติการลด Emission ด้านสวัสดิภาพแรงงานและลดการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด กากถั่วเหลืองที่มาจากการบุกรุกป่า โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการตัวอย่างการเลี้ยงไก่ เพื่อมุ่งสู่แนวทางที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต เนื่องจากในกระบวนการเลี้ยงไก่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับกระบวนการอื่นๆในซัพพลายเชนการผลิตเนื้อไก่แปรรูป โดยผู้ประกอบการสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนในโรงงาน และการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนและการประเมินและรายงานคาร์บอนฟุตพรินท์ ซึ่งการปรับตัวเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับผู้ประกอบการกลุ่มเนื้อไก่แปรรูปในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่างของผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มสินค้าเนื้อไก่แปรรูปที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการเลี้ยงไก่ในการลด Carbon Footprint ได้คือ กลุ่มบริษัท ซันกรุ๊ป และ สุรชัยฟาร์ม ซึ่งเป็นผู้ผลิตเนื้อไก่แปรรูปและฟาร์มเลี้ยงไก่ในประเทศไทย โดย บริษัทซันกรุ๊ป ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเลี้ยงไก่สมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพให้กับ สุรชัยฟาร์ม ทำให้มีการดำเนินการโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของฟาร์ม คือ การติดตั้งระบบ Solar Rooftop […]