ดังที่ได้รับทราบกันแล้ว ถึงประกาศขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้กำหนดแนวทางความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมจากเดิม ให้แก่ลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบด้วยการออกมาตรการเร่งด่วน ด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ผู้ประกอบการธุรกิจเป็นระยะเวลา 2 เดือนตามประกาศก่อนหน้านี้ไปแล้วนั้น ซึ่งหลายคนก็อาจจะต้องการทราบว่า เราหรือธุรกิจของเรา เข้าองค์ประกอบที่จะสามารถพักชำระหนี้ได้ไหม!!
.
ซึ่งเกณฑ์ของผู้ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้ มีแนวทางไว้ดังนี้
ประเภทของกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ
- กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงนับรวม นายจ้าง ลูกจ้างที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่จำเป็นต้องถูกปิดตัวลงจากคำสั่งของรัฐ ซึ่งหมายรวมถึงทั้งที่อยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และนอกพื้นที่ควบคุมการระบาดสูงสุดตามประกาศ
- กลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการสั่งปิดกิจการทางอ้อม คือลูกหนี้ที่ยังคงเปิดกิจการต่อได้ ไม่ได้ถูกสั่งปิด แต่ก็มีความเสียหายต่อธุรกิจ ทำให้เกิดผลกระทบจากคำสั่งที่เกิดขึ้น ซึ่งทางสถาบันการเงินจะได้ประเมินและให้การช่วยเหลือตามเหมาะสม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เอกสารที่จำเป็นต้องมีเพื่อประกอบการพิจารณาพักชำระหนี้
ซึ่งหากจะทำการพักชำระหนี้ คุณจะต้องติดต่อกับสถาบันการเงินที่ตนเองเป็นลูกหนี้อยู่ โดยหลักเกณฑ์ของแต่ละที่ ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งก็นับรวมไปถึงประเภทของหนี้ ที่ท่านต้องการให้พักชำระ ในกรณีนี้ท่านสามารถติดต่อรับคำปรึกษาได้ตั้งแต่วันนี้ (19ก.ค.) เป็นต้นไป
.
แต่สิ่งที่จำเป็นต้องจัดหาและรวบรวมไว้เป็นอันดับแรก คือต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา เป็นต้นว่า
- หลักฐานยอดรายได้จากการทำธุรกิจที่ลดน้อยลงอย่างมีนัยยะ
- เอกสารการจ่ายเงินเดือนของพนักงานในธุรกิจของท่าน
- ยอดค่าใช้จ่ายที่โตสวนทางกับยอดรายรับในครัวเรือน
- เอกสารบิลค่าน้ำ ค่าไฟ หรือบิลค่าใช้จ่าย จากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ออกบิลให้
- จะเป็นในรูปแบบของเอกสารกระดาษ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
- หรือหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าเราได้รับผลกระทบจากคำสั่ง ตามประกาศ ศบค. ที่ 9/2564 ล.ว. 10 ก.ค. 2564
เพื่อยื่นเป็นหลักฐานการพิจารณาชำระหนี้ ในส่วนนี้ควรเตรียมตัวไว้ให้พร้อม เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาและเสียโอกาสหากไม่ได้รับการช่วยเหลือเท่าที่ควร เพราะการช่วยเหลืออยู่ที่การประเมินผลกระทบของเจ้าหนี้ ซึ่งการช่วยเหลือก็จะแตกต่างกันตามแต่ละกรณี
.
สถาบันการเงินของรัฐและเอกชนที่ตอบรับนโยบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ
- บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารกรุงศรี
- หรือสถาบันการเงินที่ท่านเป็นลูกหนี้อยู่
.
ช่องทางการติดต่อธนาคาร
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ธนาคารกรุงศรี ห่วง และขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแบ่งเบาภาระให้ลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบตามมาตรการของทางการ ด้วยมาตรการชะลอการชำระหนี้เป็นเวลา 2 เดือน โดยลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ได้ ตั้งแต่ วันที่ 19 กรกฎาคม ถึง 15 สิงหาคม 2564
– ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME โทร 02 2966262 / 02 6262626 หรือติดต่อ เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ (RM)
– ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ Krungsri Call Center 1572
รายละเอียดเพิ่มเติมและยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการคลิก https://bit.ly/36GwIiD
.
ธนาคารกรุงไทย
กรุงไทย เคียงข้างไทย เคียงข้างคุณ ออกมาตรการเร่งด่วนช่วยลูกค้า SME และรายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ พร้อมรวม 7 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าบุคคลและธุรกิจ ช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤติ COVID-19 ไปด้วยกัน
ช่องทางการติดต่อ แจ้งความประสงค์ และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
• ธ.กรุงไทย ทุกสาขา หรือ หน่วยงานที่ดูแลสินเชื่อของท่าน
• Krungthai Contact Center 02-111-1111
• www.krungthai.com/link/covid-19
.
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทยขอช่วยแบ่งเบาภาระให้ลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ ด้วยมาตรการพักชำระหนี้เป็นเวลา 2 เดือน
โดยลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้คือ
– ลูกค้าทั้งที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้างในสถานประกอบการที่ต้องปิดกิจการในพื้นที่ควบคุมฯ (10 จังหวัด) รวมถึงลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมฯ เช่น ร้านนวด-สปา ร้านเสริมความงาม ร้านขายของในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
– ลูกหนี้ไม่เป็น NPL ณ วันที่ลงทะเบียนมาตรการช่วยเหลือ โดยสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2564
– ลูกค้า SME ติดต่อผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า หรือ K-BIZ Contact Center 02-8888822
– ลูกค้ารายย่อย ติดต่อ K-Contact Center 02-8888888
LINE KBank Live
https://line.me/R/ti/p/@kbanklive?from=page
.
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงเทพ ออกมาตรการด่วนตามแนวทางของ #ธนาคารแห่งประเทศไทย พักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และลูกค้ารายย่อย ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการควบคุมฯ ของทางการ
ผู้ได้รับผลกระทบสามารถลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ https://bit.ly/36C2eyn และโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ถึง 15 ส.ค. 2564
สำหรับมาตรการให้ความช่วยเหลือก่อนหน้ายังสามารถแจ้งความประสงค์ขอรับสิทธิ์ได้เช่นเดิม จนถึง 31 ธ.ค. 64
ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือและติดต่อแจ้งความประสงค์ได้ที่ สำนักธุรกิจและสาขาธนาคารทั่วประเทศ และบัวหลวงโฟน โทร.1333 หรือ 0 2645 5555
.
ธนาคารออมสิน
ธนาคารออมสิน ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SMEs และรายย่อย สำหรับนายจ้างและลูกจ้างที่สถานประกอบการได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการ ตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคของทางการ
โดยพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 2 เดือน (งวดเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564)
เปิดลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 น.
ปิดลงทะเบียนฯ วันที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 16.30 น.
คลิกเพื่อลงทะเบียนที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน > https://bit.ly/GSBndrs2m
.
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ธอส. ประกาศ 2 มาตรการเร่งด่วน พักชำระหนี้เงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยนาน 3 เดือน ช่วยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากการประกอบอาชีพ / ธุรกิจ / การค้า เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
M15 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ
M16 สำหรับลูกค้าที่มีสถานะ NPL หรือลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย
ระยะเวลาให้ความช่วยเหลือ 3 เดือน (ส.ค. – ต.ค. 64)
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. 64 เวลา 9.00 น. ถึง 29 ส.ค. 64 เวลา 20.00 น.
ช่องทางการลงทะเบียนเข้ามาตรการ
1.Mobile Application GHB ALL
2.เว็บไซต์ธนาคาร https://www.ghbank.co.th
3.Line GHB Buddy : https://lin.ee/ErOyx0Lk
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://bit.ly/3hG4efc
สอบถามเพิ่มเติมที่
Inbox : m.me/GHBank
Call Center : 0-2645-9000
.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตร ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 เปิดให้แจ้งความประสงค์แล้วตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมเป็นต้นไป ผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้
1. Line Official BAAC Family
2. Call center 02 555 0555
3. http://www.baac.or.th
4. ธ.ก.ส.ทุกสาขา
.
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ไอแบงก์ให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการตามมาตรการควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามและแจ้งความประสงค์ได้ ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2564
.
โดยมาตรการดังกล่าวจะเริ่มมีผลและสามารถขอความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันนี้ (19 ก.ค. 64) เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศจากสถาบันการเงินนั้นๆออกกำหนดกรอบวันให้การช่วยเหลือวันสุดท้าย ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือประชาชนท่านใดที่ได้รับผลกระทบจากคำประกาศก็เตรียมตัวให้พร้อม เพื่อความรวดเร็วในการยื่นขอความช่วยเหลือในครั้งนี้