SUBWAY

กรณีศึกษา SUBWAY ถูกดรามาคุณภาพอาหาร มาตรฐานไม่มี จนต้องชี้แจง

ขึ้นชื่อว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ แน่นอนว่าผู้บริโภคย่อมคาดหวังในเรื่องมาตรฐานว่าแต่ละสาขาที่เข้าไปใช้บริการนั้นต้องเป็นแบบเดียวกันหมด แต่หากมีสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือมากกว่านั้นไม่เป็นไปตามที่บอกก็อาจจะเกิดปัญหาร้องเรียนขึ้นมาได้ย่อมส่งผลเสียต่อแบรนด์อย่างปฏิเสธไม่ได้

กรณีศึกษาที่น่าสนใจอย่าง SUBWAY ร้านอาหารประเภทแซนด์วิชและสลัดที่ได้รับข้อร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพอาหาร, วัตถุดิบขาด, กระดาษห่อไม่พิมพ์ลาย, กระดาษห่อสีเลอะติดอาหาร, ขนมปังไม่ใช่ของแบรนด์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

งานนี้ SUBWAY ได้ออกมาชี้อจงว่า สาขาที่ได้รับการร้องเรียน เช่น Food generation สาขา CP ทาวเวอร์ สีลม , ปตท บางแสน ,ปตท สุขสวัสดิ์, เชลล์ ลาดพร้าว, ทองหล่อ, เชลล์ ท่าพระ, คาลเท็กซ์ ประชานุกูล, ดิ อัพ พระราม 3, บางจาก ราชพฤกษ์ และ อื่นๆ ถูกยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค.2567

 

 

พร้อมทั้งให้ลูกค้าที่ต้องการใช้บริการสังเกตหน้าร้านจะต้องมีเลขที่ร้าน และเครื่องหมายสัญลักษณ์ Authorized Franchise ที่ได้รับสิทธิถูกต้องพร้อมบริการตามปกติ มีอาหาร และวัตถุดิบครบทุกเมนู รวมทั้ง อะโวคาโด , มะกอก และ อื่นๆ ถูกต้องตามมาตรฐานของแบรนด์

เช็กสาขาที่ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์อย่างถูกต้อง

แบรนด์ได้แจ้งรายชื่อสาขาที่ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ มีจำนวน 51 สาขา ดังต่อไปนี้

1.พัทยากลาง (ใกล้หาด)
2.สนามบินภูเก็ต-ห้องรับรองผู้โดยสารระหว่างประเทศ
3.สุขุมวิท 23
4.เอาท์เลทมอล์ พัทยา
5.สยามพารากอน
6.สนามบินภูเก็ต-ห้องรับรองผู้โดยสารระหว่างประเทศ (1)
7.สนามบินภูเก็ต-ห้องรับรองผู้โดยสารระหว่างประเทศ (2)
8.สนามบินดอนเมือง ระหว่างประเทศ
9.สนามบินดอนเมือง อาคารเทอมินอล 2 ชั้น 1
10.สนามบินดอนเมือง ผู้โดยสารภายในประเทศ
11.สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 แอร์ไซด์
12.สนามบินภูเก็ต-บริเวณเช็คอิน
13.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
14.ชาลีเพลส (ซอยบัวขาว)
15.สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า
16.สนามบินสุวรรณภูมิภายในประเทศ
17.เทอมินิล 21 (อโศก)
18.ไทม์สแควร์
19.สนามบินดอนเมือง อาคารเทอมินอล 2 ชั้น 4
20.สนามบินสุวรรณภูมิ ผู้โดยสารระหว่างประเทศ
21.สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3
22.สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4
23.ปั๊มบางจากเกษตรนวมินทร์
24.สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 (Concourse E)
25.ถนนเลียบหาดป่าตอง
26.สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 3 อาคารใหม่ 1
27.เซ็นทรัลฟลอเรสต้า
28.อ่าวนาง
29.นิมมานเหมินทร์ ซอย 10
30.เมกา บางนา
31.ฮักมอลล์ ขอนแก่น
32.สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 (Concourse C)
33.ฟอร์จูนทาวน์
34.บางจากสุขุมวิท 62
35.โรงเรียนนานาชาติ บางกอกพัฒนา
36.เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต
37.โรงพยาบาลเวชธานี
38.อมาดิโอ ชิล ปาร์ค
39.ปั๊มปตท. เดอะ ดีล แจ้งวัฒนะ
40.หาดจอมเทียน
41.โรงพยาบาลเมดปาร์ค
42.มอเตอร์เวย์ (ขาเข้า)
43.เอ็มควอเทียร์
44.ฮาบิโตะ
45.สนามบินเชียงใหม่-ชาร์เตอร์
46.มอเตอร์เวย์ (ขาออก)
47.ไมค์ ช้อปปิ้ง มอลล์
48.คาลเท็กซ์ บางใหญ่
49.อาคารซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์
50.ตลาดรวมทรัพย์
51.พีที รัชดาภิเษก

ส่วนสาขาที่ไม่ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์แล้ว รวมจำนวน 105 สาขา

 

 

รู้จัก SUBWAY กับการดำเนินธุรกิจในไทย

Subway เปิดสาขาแรกในไทยที่สีลม เมื่อปี พ.ศ.2546 ภายใต้ บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น จำกัด (ABOUT PASSION COMPANY LIMITED) เปิดให้บริการร้านในหลากหลายทำเล เช่น ห้างสรรพสินค้า, คอมมูนิตี้มอลล์, ปั๊มน้ำมัน , อาคารพาณิชย์ , รูปแบบ Stand Alone และการขายแฟรนไชส์ เป็นต้น โดยมีการสร้างกลยุทธ์วางแผนที่จะเป็นธุรกิจร้านอาหารประเภทบริการด่วน Top 3 ให้ได้ พร้อมขยายสาขาถึง 1,000 สาขา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือที่เรารู้จักกันดีในปั๊มน้ำมัน PT ได้ส่งบริษัท จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้ามาลงทุนซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์แซนด์วิชจากสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 35 ล้านบาท เพื่อสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัทที่ต้องการขยายบริการที่ไม่ใช่น้ำมันให้ครอบคลุมกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนมากขึ้น

 

 

โดยพีทีจีเริ่มมองหาบริการใหม่ ๆ เพื่อสร้างทางเลือก ความหลากหลายให้กับผู้คนที่มาใช้บริการ ซึ่งร้านอาหารถือเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่น่าสนใจ โดยที่ผ่านมาเราได้เห็นแบรนด์ร้านอาหาร/ฟาสต์ฟู้ดส์ เข้ามาอยู่ในสถานีบริการน้ำมันอยู่หลายแบรนด์ด้วยกัน

แฟรนไชส์ต้องมีมาตรฐาน

สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ เพราะผู้บริโภคเข้าใจว่าสาขาที่ไปใช้บริการ แต่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานยังเป็นของ SUBWAY อยู่ เพราะบริบทต่าง ๆ อยู่ภายใต้แบรนด์ชื่อนี้หมด ดังนั้น จึงมีการตั้งคำถามว่า หากไม่ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์แล้ว ก็ไม่ควรจะใช้ชื่อ  เพราะจะสร้างความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค

อีกทั้ง เจ้าของสิทธิ์เองก็ควรทำอะไรสักอย่าง เช่น การสื่อสารอย่างเป็นระบบ อย่างเป็นทางการไปยังผู้บริโภคเพื่อสร้างการรับรู้ เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์แล้วทางแบรนด์ก็ควรดำเนินการทางกฎหมาย หากยิ่งปล่อยเวลานานไปเรื่อย ๆ ย่อมกระทบต่อความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง