ไม่ว่าจะทำเรื่องอะไรก็ตาม ทั้ง ธุรกิจ, ทำงาน, กิจกรรมในชีวิตประจำวัน การมีสมาธิถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะหากแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จดจ่ออยู่กับมัน ผลลัพธ์ย่อมออกมาดีอย่างแน่นอน แต่ในยุคปัจจุบัน เกิดสิ่งเร้าต่าง ๆ มากมายจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะอยู่กับอะไรได้เป็นเวลานาน
ในสถานที่ทำงานที่มีแต่สิ่งรบกวน การมีสมาธิกลายเป็นหนึ่งในทักษะที่มีคุณค่าที่สุด และเข้าถึงยากที่สุด อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เราสามารถฝึกฝนกันได้ เพราะการทำสมาธิไม่ใช่เรื่องของความมุ่งมั่นเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนได้ เหมือนกับการเรียนรู้วิธีเล่นเครื่องดนตรี

Gerald Leonard ซีอีโอ Turnberry Premiere ได้เปิดเผย 7 กลยุทธ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้คุณสร้างสมาธิมากขึ้นที่ใคร ๆ ก็สามารถฝึกฝนกันได้
1.สร้างการทำงานที่มีจังหวะ
ลองนึกถึงวันทำงานของคุณเหมือนซิมโฟนี โดยจะขึ้น-ลง ตามจังหวะที่เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นงานที่ต้องทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่มีที่สิ้นสุด โดยสมองของเราทำงานเป็นจังหวะอุลตราเดียน สลับกันระหว่างรอบความตื่นตัว และความเหนื่อยล้า อยู่ระหว่าง 90-120 นาที ซึ่งแทนที่จะต่อสู้กับความเหนื่อยล้า ปรับเป็นการจัดโครงสร้างอย่างเป็นระบบ ดังต่อไปนี้
- ตั้งเวลา 60 นาที สำหรับการทำงานอย่างด้วยสมาธิ
- เมื่อหมดเวลาให้ยืดเส้นสาย เดินหายใจ
- ทำแบบนี้สองหรือสามครั้งเพื่อประสิทธิภาพการรับรู้สูงสุด
2.เช็กจังหวะสักหน่อย
ก่อนที่นักดนตรีจะเริ่มเล่นเพลง พวกเขาจะตรวจสอบจังหวะ และคีย์ของเพลง เช่นเดียวกับการลงมือทำอะไรสักอย่าง คุณก็ต้องเช็กสภาพจิตใจก่อนเช่นกัน โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Neuroscience แสดงให้เห็นว่าอารมณ์มีอิทธิพลอย่างมากต่อความสนใจ และความยืดหยุ่นทางปัญญา ซึ่งเราสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ให้คะแนนความพลังงาน 1-10 หากรู้สึกว่าต่ำกว่า 5 คะแนน ให้เริ่มต้นวันใหม่ด้วยงานเบา ๆ ก่อน
- เก็บงานที่ต้องใช้สมาธิสูง เช่น การวิเคราะห์ ไว้ทีหลัง
3.ใช้ดนตรีเพื่อกระตุ้นส่วนสมอง
ดนตรีสามารถช่วยให้คุณมีสมาธิ หรือหลงทางได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้มันอย่างไร โดยการศึกษาของ Stanford University แสดงให้เห็นว่าการฟังเพลงช่วยกระตุ้นสมองที่เกี่ยวข้องกับการใส่ใจ และการคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม เนื้อเพลง และการเปลี่ยนจังหวะที่เฉียบคมอาจรบกวนสมาธิ และทำประสิทธิภาพการทำงานลดลง
วิธีที่ใช้ดนตรีกระตุ้นสมองที่ดดี
- สร้างเพลย์ลิตส์ด้วยดนตรีบรรเลง 1-2 ชั่วโมง
- ใช้เฉพาะในช่วงทำงานเพื่อเตรียมจิตใจให้มีสมาธิอย่างลึกซึ้ง
- เมื่อเวลาผ่านไป สมองคุณจะเชื่อมโยงดนตรีนี้กับ “โหมดทำงาน” และเปลี่ยนสู่โหมดการทำงานได้เร็วขึ้น
4.กำหนดเป้าหมายการทำงาน
ก่อนขึ้นแสดงบนเวที นักดนตรีไม่ได้ออกเดินไปเฉย ๆ พวกเขามีพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การปรับจูนเครื่องดนตรี, การฝึกหายใจ เช่นเดียวกับการทำงานก็จะมีพิธีกรรมเช่นกันที่จะนำไปสู่สมาธิ ผ่านวิธีดังต่อไปนี้
- ยืดตัวประมาณ 2 นาที
- ชงชาดื่มสักถ้วย หรือจุดเทียน
- เปิดเพลย์ลิสต์เพลงบรรเลง
5.แบ่งงานออกเป็นช่วงจังหวะ
วงซิมโฟนี่มักมีการเคลื่อนไหว เช่น อินโทร เครสเซนโด ไฟนาเล โดยแบ่งตามสัดส่วน เช่นเดียวกับสมองมนุษย์สามารถเก็บข้อมูลในหน่วยความจำของการทำงานได้ประมาณ 4-7 รายการพร้อม ๆ กัน ตามการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Cognitive Psychology โดยงานที่ขนาดใหญ่ เกิดขีดจำกัด และมีความคลุมเครือ จะทำให้เกิดการผัดวันประกันพรุ่ง ดังนั้น การทำงานควรมีรูปแบบ
- แบ่งโปรเจคต์ออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การวางแผน, การร่าง, การแก้ไข, การตรวจสอบ และการนำส่ง
- ตั้งเป้าหมายสำคัญ กำหนดเวลาบรรลุเป้าหมาย
6.กำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป
ในดนตรี การเปลี่ยนจังหวะโดยไม่คาดคิดจะช่วยเพิ่มความตื่นเต้น ในขณะที่การทำงาน ความวุ่นวายมักจะทำให้เกิดความปั่นป่วน โดยการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ค้นพบว่าต้องใช้เวลาถึง 23 นาทีในการกลับมามีสมาธิได้เต็มที่หลังมีสิ่งรบกวนเข้ามา ซึ่งวิธีการกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นให้ทำตามนี้
- กำหนดเวลาการทำงานอย่างลึกซึ่ง ตั้งค่าอุปกรณ์ให้อยู่ในโหมดห้ามรบกวน
- แจ้งให้ผู้ร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้องทราบว่าคุณต้องอยู่ในโหมดการใช้สมาธิ
7.ใช้ความเงียบเพื่อรีเซตจังหวะสมองคุณ
ในดนตรี ความเงียบไม่ได้หมายถึงความว่างเปล่า แต่เป็นพื้นที่เจตนาที่ทำให้เสียงมีรูปร่างขึ้นมา ในทำนองเดียวกัน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Proceedings of the National Academy of Sciences ชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาแห่งความเงียบเป็นเจตนาส่งเสริมการสร้างสมองใหม่
- หลังจากทำงานสำคัญแต่ละช่วงเสร็จ ให้ใช้เวลาเงียบ ๆ สัก 3 ถึง 5 นาที
- ไม่มีเพลง, ไม่มีพอดแคสต์ ให้โฟกัสกับลมหายใจ และความนิ่งสงบ
สรุปได้ว่าสมาธิช่วยให้โฟกัสกับงานตรงหน้า ลดการวอกแว่ก ทำให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ดี เพราะจิตใจนิ่งและมีสติ ลดความเครียด ทำให้ทำงานอย่างมีความสุขและต่อเนื่อง เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เมื่อจิตว่างจากความฟุ้งซ่าน ส่งผลให้คุณภาพงานดีขึ้น และใช้เวลาน้อยลงในการทำงาน
ที่มา: fastcompany
เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ
Post Views: 199