ลองใช้วิธีนี้! หากข้อมูลไม่เพียงพอ จะตัดสินใจอย่างไรให้ออกมาดีที่สุด
สถานการณ์บางอย่างเราไม่สามารถควบคุมได้ บางเหตุการณ์ต้องตัดสินใจทันที ไม่มีเวลาคิด แถมข้อมูลประกอบการตัดสินใจยังไม่เพียงพอที่จะสรุปออกมาเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด
ในช่วงเวลาคับขันที่บีบบังคับ การทำอะไรสักอย่างลงไป อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ตามมา แล้วแบบนี้จะเอาตัวรอดจากเหตุการณ์แบบนี้ได้อย่างไร แต่ความเป็นจริงแล้ว เราไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลที่สมบูรณ์แบบเสมอไปสำหรับการตัดสิน ใจอย่างชาญฉลาดภายใต้สถานการณ์ที่กดดัน
ด้วยความเข้าใจในหลักการสำคัญ และใช้ประโยชน์จากแนวทางกลยุทธ์ จะทำให้เราตัดสินอย่างมั่นใจที่จะขับเคลื่อนทีม และองค์กรไปข้างหน้าได้ เทคนิคบางประการจะช่วยทำให้การตัดสิน ใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าข้อมูลจะไม่ครบถ้วนก็ตาม
นี่คือ 5 กุญแจสำคัญที่จะเป็นคัมภีร์ติดตัวในการตัดสิน ใจภายใต้ความกดดัน ผ่านองค์ประกอบเหล่านี้
1.ความชัดเจนของวัตถุประสงค์
รู้ตัวเองว่ากำลังพยายามบรรลุเป้าหมายอะไร โดยเป้าหมายที่ชัดเจนจะเป็นเส้นชี้นำทางในการตัดสิน ใจทุกครั้ง นอกจากนี้ ยังรวมถึงการกำหนดความสำเร็จของตัวเอง และทีมว่าเป็นอย่างไร
2.จัดลำดับความสำคัญ
ในกรณีที่ข้อมูลไม่เพียงพอ ลองจัดลำดับข้อมูลที่มีอยู่ก่อน และมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการตัดสิน ใจมากที่สุด ลองถามตัวเองว่าอะไรเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้มากที่สุด
3.พร้อมรับมือ
การตัดสิน ใจไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ดังนั้นเตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา พร้อมรับมือเดินหน้าต่อแม้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
4.ปรึกษาและทำงานร่วมกัน
มุมมองที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล อาจนำมาสู่ข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เคยรู้มาก่อน โดยการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะช่วยชี้นำการตัดสิน ใจให้ดีขึ้น
5.จัดการความเสี่ยง
ทำความเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องจากการเลือกว่าจะมีผลตามมาอย่างไร เพราะการตัดสิน ใจทุกครั้งไม่ได้มีคำตอบทั้งหมด แต่การรับรู้ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และวางแผนรับมือกับสิ่งเหล่านั้นสามารถสร้างความแตกต่างให้ประสบความสำเร็จ แทนที่จะล้มเหลว
อย่างไรก็ตาม อย่างที่บอกไปประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คือการมีข้อมูลไม่ครบถ้วน แล้วจะตัดสิน ใจอย่างไร นี่คือเทคนิคที่จะมาแนะนำ
ประสบการณ์และสัญชาติญาณ: ประสบการณ์ในอดีตเป็นสิ่งที่ล้ำค่าเมื่อกำลังขาดข้อมูล การไตร่ตรอง นึกถึงสถานการณ์ที่คุ้นเคยจะช่วยให้การตัดสิน ใจมีประสิทธิภาพ หากไม่มีประสบการณ์ให้ลองขอความช่วยเหลือจากคนที่ผ่านมาเรื่องราวนี้มาแล้ว
จำลองสถานการณ์: ลองจินตาการถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ตามข้อมูลที่มี และมองผลลัพธ์ที่เป็นไปได้คืออะไร การจำลองสถานการณ์จะช่วยเห็นภาพอนาคตที่เป็นไปได้ และพร้อมที่จะรับมือ โดยพิจารณาในหลายเส้นทางที่จะมีผลตามมาก่อนจะเลือกตัดสิน
แสวงหาข้อมูลเชิงลึก: เมื่อข้อมูลเชิงปริมาณมีน้อย ให้หันไปใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ รวมถึงข้อเสนอแนะจากคนอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือจะเป็นการสังเกต โดยข้อมูลเชิงลึกมักให้บริบท และทำความเข้าใจสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี
ใช้กรอบการตัดสิน: จะช่วยสร้างความชัดเจนของกระบวนการคิดให้มีความเป็นระเบียบ วิธีง่าย ๆ คือการประเมินตัวเลือก ชั่งน้ำหนักข้อดี-ข้อเสีย และประเมินผลก่อนตัดสิน ใจอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้มีค่ามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกสับสนกับความคลุมเครือของข้อมูลที่มีจำกัด
นำฟีดแบ๊คมาใช้: เมื่อมีการตัดสิน ใจแล้ว ให้มอนิเตอร์รวบรวมข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เข้ามา และทำความเข้าใจกับข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงยกระดับต่อการตัดสิน ใจในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อมูลอันมีค่าสำหรับกระบวนการตัดสิน ใจในอนาคตอีกด้วย
แม้ว่าการตัดสิน ใจอะไรสักอย่าง แต่ข้อมูลที่ใช้ประมวลผลอาจจะมีน้อยจะมีความกังวลไม่มากก็น้อย แต่หากอาศัยการไตร่ตรอง คิด วิเคราะห์จากประสบการณ์ที่เคยมีมาก็จะทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีได้
ที่มา: linkedin
เรื่องที่เกี่ยวข้อง