วัดผลประกอบการ “เอ็มเค-ตี๋น้อย” สุกี้แบรนด์ดัง ครึ่งปีแรกโกยรายได้เท่าไหร่

เวลาเดินทางเลยครึ่งปี 2567 มา แน่นอนว่าแต่ละธุรกิจได้ออกมาแถลงผลประกอบการว่าเป็นอย่างไร โดยหนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจนั่นคือ ร้านสุกี้ ที่มีจะมีการแข่งขันที่ดุเดือด หากสำรวจในตลาดก็จะพบว่ามีทั้งผู้เล่นหน้าเก่าที่อยู่มานานอย่าง “เอ็มเคสุกี้” และผู้เล่นหน้าใหม่มาแรงอย่าง “สุกี้ตี๋น้อย”

แล้วช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 ของทั้งสองแบรนด์เป็นอย่างไร Smartsme จะพามาให้คำตอบกัน

เอ็มเค รายได้ลด กำไรลด

ผลประกอบการบริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)ในไตรมาส 2/2567 ธุรกิจมีรายได้ 4,107 ล้านบาท ลดลง 7% เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 401 ล้านบาท ลดลง 12.7% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน

 

เอ็มเคสุกี้

 

ส่วนผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย 67) พบว่าธุรกิจมีรายได้ 8,053 ล้านบาท ลดลง 5.5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน มีกำไรสุทธิ 747 ล้านบาท ลดลง 4.7% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน

สำหรับเอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป มีแบรนด์ร้านอาหารในเครือ ไม่ว่าจะเป็น เอ็มเค สุกี้, ยาโยอิ, แหลมเจริญ โดยสัดส่วนรายได้มาจากเอ็มเค สุกี้ มากที่สุดคิดเป็น 72% ตามมาด้วย ยาโออิ 18% และแหลมเจริญ 7%

ปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการลดลง ทางแบรนด์วิเคราะห์ว่ามาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนตัวลง จากสภาวะค่าครองชีพ และหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ยอดขายสาขาเดิมลดลง 8.6%

สุกี้ตี๋น้อยกำไรพุ่งเกิน 600 ล้านบาท

รายงานของบริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าถือหุ้นบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เจ้าของ “สุกี้ตี๋น้อย” ได้เผยประกอบการปีในช่วงครึ่งปีแรก โดย “สุกี้ตี๋น้อย” ทำกำไร 610 ล้านบาท และเจมาร์ทได้รับส่วนแบ่งจากถือหุ้นสัดส่วน 30% คิดเป็น 183 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นการตัดสินใจเลือกลงทุนที่คุ้มค่า

 

สุกี้ตี๋น้อย

 

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีแผนขยายสาขาออกไปตามพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น เช่น ชลบุรี, เชียงใหม่, นครราชสีมา, อุดรธานี และสุพรรณบุรี เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ขยายฐานลูกค้า จากเดิมที่มีอยู่แค่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เท่านั้น โดยปัจจุบัน “สุกี้ตี๋น้อย” มีจำนวนสาขา 67 สาขาทั่วประเทศ

ทั้งนี้ในปี 2566 “สุกี้ตี๋น้อย” ทำรายได้รวม 5,262 ล้านบาท กำไร 907 ล้านบาท โดยต้องมาดูกันว่าในปีธุรกิจจะทำรายได้เกิน 1,000 ล้านบาท หรือไม่