ร้านกาแฟในอังกฤษ หันมาใช้น้ำนมจากพืชกับสูตรเครื่องดื่ม และอาหาร


สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน รายงานว่าปัจจุบันผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสุขภาพควบคู่ไปกับบริโภคอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคในประเทศอังกฤษมีการบริโภคสินค้าเครื่องดื่มจากพืชเพื่อเป็นทางเลือกทดแทนน้ำนมจากสัตว์มากขึ้น จากการสำรวจพบว่า 1 ใน 3 ของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักร จะเลือกซื้อน้ำนมจากพืช (Plant milk) แม้จะมีราคาสูงกว่าน้ำนมจากสัตว์ เช่น โอ๊ต มะม่วงหิมพานต์ มะพร้าว กัญชง ถั่ว ข้าวบาร์เลย์ ข้าว เมล็ดเจีย และอื่นๆ

 

สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ คือผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้น้ำนมจากพืชทดแทนทั้งในเครื่องดื่ม และส่วนผสมอาหาร และเริ่มมีความนิยมมากขึ้นในกลุ่มบาริสต้า ที่เริ่มใช้น้ำนมพืชมาเป็นสูตรการปรุงเครื่องดื่ม นอกจากนี้ ร้านกาแฟหลายร้านได้ทยอยยกเลิกการคิดค่าน้ำนมจากพืชกับลูกค้าเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น โดยตลาดเครื่องดื่มน้ำนมจากพืช มีมูลค่ามากถึง 226 ล้านปอนด์ ในปี 2019 และคาดว่าในปี 2025 มูลค่าตลาดจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่า หรือเป็นมูลค่า 479 ล้านปอนด์ หรือจะเติบโตมากถึง 13.8%

 

โดยคาดว่าน้ำนมอัลมอนด์จะมีการเติบโตมากที่สุดถึง 16.6% ในช่วงปี 2020-2025 เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเข้มข้น และมีแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต และไขมันในปริมาณต่ำ ซึ่งสามารถนำไปปรุงได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน นอกจากนี้ นมข้าวโอ๊ต (Oat milk) และนมเมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed milk) ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคอาหารวีแกน (Vegan) อย่างไรก็ตาม กลุ่มน้ำนมข้าวยังคงเป็นสินค้าที่น่าจะมีการเติบโตได้มากถึง 14.1% ซึ่งกลุ่มน้ำนมข้าวนี้ยังไม่มีผลิตภัณฑ์วางขายมากนักในตลาดสหราชอาณาจักร ขณะที่น้ำนมถั่วเหลือง (Soy Milk) แม้จะมีสัดส่วนตลาดมากถึง 20% แต่กลับเป็นกลุ่มที่คาดว่าการเติบโตของตลาดจะมีเพียง 2.9% เท่านั้น เนื่องจากผู้บริโภคได้รู้จักผลิตภัณฑ์จากนมถั่วเหลืองมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และส่วนแบ่งตลาดอาจลดลงในอนาคตหากยังไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

 

ประเด็นที่น่าจับตามองคือ ปัจจุบันผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรและยุโรปเริ่มให้ความสนใจในการบริโภคอาหารวีแกน หรือมังสวิรัติมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นวีแกนเข้าสู่ตลาดสูงขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคเริ่มเห็นสินค้าแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม ทั้ง Plant – based และ Vegan friendly แต่สินค้าทั้ง 2 ชนิดนี้ยังมีความแตกต่างกันในแต่ละตลาด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎหมายควบคุมสินค้าทั้งสองประเภทนี้อย่างชัดเจน

 

อย่างไรก็ตาม การวางขายสินค้าวีแกน ผู้ผลิตจะต้องไม่สร้างความเข้าใจผิดให้ผู้บริโภคโดยอาจใช้มาตรฐาน ขั้นตอนกระบวนการผลิตของหน่วยงานที่ให้การรับรองตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีการให้นิยามที่แตกต่างกัน เช่น ISO ได้นิยามสินค้า Vegetarian โดย ISO กำหนดให้เป็นการผลิตโดยไม่มีส่วนผสมจากสัตว์ ในขณะที่ Vegetarian Society’s ให้ความนิยามว่า Vegetarian จะต้องไม่มีส่วนผสมจากการฆ่าสัตว์ ส่วนทางด้าน British standard เห็นว่า Plant-based food ไม่ใช่ Vegan food

อยากได้ไอเดียใหม่มาต่อยอดธุรกิจ พบกันที่งาน Smart SME Expo 2021 #ชี้ช่องรวย #ที่เดียวจบพบทางรวย ระหว่าง 2 – 5 กันยายนนี้ ณ ฮอลล์ 9-10 อิมแพ็คเมืองทองธานี กับไฮไลท์ 5 โซนเด็ดให้คนรักการทำธุรกิจมาต่อยอดโอกาส ดังนี้

1. Franchise [Star Area] ธุรกิจดาวเด่นน่าลงทุน
2. Financial & Goverment สถาบันการเงินและหน่วยงานสนับสนุน
3. Beauty & Health ธุรกิจความงาม และสุขภาพ
4. Inno & Tech ธุรกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี
5. Food & Beverage ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

เปิดจองบูธแล้ววันนี้
Call Center 086 314 1482 , 094 915 4624
E-Mail : [email protected]