5 สินค้าสุขภาพดิจิทัลมาแรงปี 2025 ตอบโจทย์ผู้สูงอายุที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด
October 25, 2024 October 27, 2024
โลกได้เดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าจะมีผลกระทบด้านแรงงานที่ลดลง หรือไปถึงขั้นขาดแคลน ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนสูงขึ้นก็เป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะสร้างสินค้าหรือบริการ ตอบสนองความต้องการของพวกเขาเหล่านี้
ข้อมูลจากองค์กรจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าในปี 2573 โลกจะมีประชากรสูงอายุทะยานถึง 1.4 พันล้านคน และตัวเลขจะเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 2,000 ล้านคน ในปี 2593 เช่นเดียวกับสถานการณ์ในประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบไปตั้งแต่ปี 2565 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจำนวนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามปีที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับสินค้าหรือบริการที่กลุ่มผู้สูงวัยให้ความสำคัญ คงหนีไม่พ้นอาหารเพื่อสุขภาพ, สถานที่ในการพักอาศัย รวมอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามองนั่นคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาดูแล และคอยอำนวยความสะดวก ทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในรูปแบบของสินค้าสุขภาพดิจิทัล
นี่คือ 5 สินค้าสุขภาพดิจิทัลที่จะมาแรงในปี 2025
การวิเคราะห์ด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare Analytics)
การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลจะเป็นประโยชน์ให้กับแพทย์ในการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI ที่เป็นพระเอกในเรื่องนี้ เพราะหากวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำก็นำมาสู่การสร้างแผนการรักษาผู้สูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่เพียงแค่นั้น เทคโนโลยียังนำมาใช้ในระบบจัดการทำงาน เช่น บุคลากร, ทรัพยากรที่มีอยู่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
การดูแลสุขภาพบนคลาวด์ (Cloud Healthcare)
Data ถือเป็นข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าจะธุรกิจอะไร แน่นอนว่าการจัดเก็บข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ เช่นกัน โดยคลาวด์คอมพิวติ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งมีจุดเด่นทั้งในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลได้ในจำนวนมาก, ลดค่าใช้จ่าย, เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลว่าจะไม่สูญหาย
บันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records: EHR)
ระบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยจะสร้างความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งวินิจฉัย ติดตามการรักษา ปรับแผนให้เหมาะสม นำมาสู่การรักษาที่แม่นยำ ประหยัดเวลา ลดข้อผิดพลาดเกี่ยวกับข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับการจดแบบแมนนวล
อุปกรณ์สวมใส่ทางการแพทย์ (Medical Wearables)
อุปกรณ์ตัวช่วยที่เหล่าคนรักสุขภาพมักใส่กัน โดยที่ได้รับความนิยม เช่น สมาร์ทวอทช์ ติดตามการเต้นของหัวใจ หรือจะเป็นการแจ้งเตือนความผิดปกติของร่างกายซึ่งเหมาะกับการติดตามผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ทันทีหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น
5. การตรวจสอบผู้ป่วยระยะไกล (Remote Patient Monitoring : RPM)
ทุกวันนี้การรักษาโรคอาจไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลอีกต่อไป แต่สามารถทำโดยการดูแลจากระยะไกลได้ บริการนี้จะเป็นประโยชน์กับบุคคลที่มีที่พักห่างไกลจากโรงพยาบาล และเป็นการลดความหนาแน่นของคนไข้ที่มาโรงพยาบาลอีกด้วย
ตลาดผู้สูงอายุถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริการ ยกระดับการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง: bangkokbanksme
เรื่องที่เกี่ยวข้อง