Health & Wellness เทรนด์มาแรง เมื่อคนใส่ใจสุขภาพถึงเวลาที่ SME ต้องคว้าโอกาส

ทุกวันนี้จะสังเกตได้ว่าผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนมากกว่าเดิม ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นคนกลุ่มไหน แต่กลุ่มต่างล้วนมีเป้าหมายด้านสุขภาพที่แตกต่างกันออกไป แน่นอนว่าเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ไทย ที่จะมาลงสนามนี้

สถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute; GWI) ประเมินว่าธุรกิจ Wellness ทั่วโลก จะมีมูลค่าประมาณ 5.61 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022 และจะเพิ่มเป็น 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2025 สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของ SCB EIC ที่เผยว่าธุรกิจ Health & Wellness เป็นเทรนด์ที่มาแรงทั้งในระดับโลก และในประเทศไทย โดยมูลค่าตลาดในประเทศไทยคิดเป็น 1.5 ล้านล้านบาท ในปี 2562

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจนี้มาแรงเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนตระหนักร็ และหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้น, การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐฯ ที่ให้การสนับสนุนแก่ภาคธุรกิจสุขภาพมากยิ่งขึ้น

ธุรกิจ Health&Wellness สามารถแตกไลน์ออกไปได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหารที่มาในรูปแบบออร์แกนิก กินแล้วเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกับวิตามิน อาหารเสริม, สมุนไพร ก็เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่น่าสนใจไม่แพ้กัน, ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, ธุรกิจสปา, ธุรกิจฟิตเนส, ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ, ธุรกิจความงาม, ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและนัวตกรรมดูแลสุขภาพ

 

ธุรกิจ Health&Wellness สามารถแตกไลน์ออกไปได้อย่างหลากหลาย

อย่างไรก็ตาม แล้วโอกาสเซกชันอะไรที่เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยบ้าง สามารถแบ่งเป็น 4 เรื่อง ได้แก่

1.medical tourism อันนี้เป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ เพราะว่ายังมีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่ต้องการเดินทางมารักษาตัวในเมืองไทย ทั้งมารักษาโรคผ่านบริการคลินิก

2.Wellness tourism โอกาสที่คนจะเดินทางเข้ามาฟื้นฟูสุขภาพในเมืองไทย พร้อมท่องเที่ยวไปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มที่จะมาจากตะวันออกกลาง, จีน ซึ่งมีโอกาสเยอะมาก

3.ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จะเห็นได้ว่าเมื่อสองปีที่แล้ว ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปี คิดเป็นสัดส่วน 20% ถือได้ว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ดังนั้น บริการต่าง ๆ ที่จะส่งเสริม ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งอาหาร ศูนย์ดูแล และอื่น ๆ ก็จะได้รับความนิยม

 

ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ

4.ธุรกิจเกี่ยวกับ Digital Health หรือการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีทางการแพทย์ ธุรกิจการแพทย์เหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่สามารถหลีกหนีความก้าวหน้าทางด้านนี้ไม่พ้น ซึ่งเริ่มมีการประยุกต์ใช้เรื่องนี้เข้ากับการรักษาพยาบาลมากขึ้น โดยตามโรงพยาบาลต่าง ๆ จะเห็นการเริ่มทยอยใช้ AI เข้ามาช่วยวินิจฉัยทางการแพทย์ มีการใช้ blockchain ในการบันทึกข้อมูล หรือการจัดการเรื่องโลจิสติกส์

เหล่านี้คือ 4 เทรนด์ธุรกิจใหญ่ที่เกี่ยวกับสุขภาพที่คิดว่ามีอนาคต และมาแรง

สำหรับคนที่สนใจอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับ Health&Wellness จำเป็นต้องเกาะกระแสรู้ว่าเทรนด์ไปถึงไหนแล้ว ศึกษาหาข้อมูลว่าธุรกิจการแพทย์ที่ทำอยู่เป็นอย่างไร เดินไปในทิศทางไหน มีธุรกิจอะไรอยู่ในธุรกิจนี้บ้าง ตลอดจนข้อกำหนดต่าง ๆ ว่าเรื่องอะไรทำได้ เรื่องอะไรทำไม่ได้

ประเทศไทยมีชื่อเสียงในเรื่องธุรกิจสุขภาพอยู่แล้ว ดูได้จากความต้องการของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย หากได้รับการส่งเสริมดี ๆ นี่คือ Softpower ที่รอวันเปล่งประกายในตลาดโลก ด้วยความรู้พื้นฐานที่ได้เปรียบกว่าชาติอื่น ๆ ที่ให้มีแต้มต่อ และเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในระยะยาว