ลูกค้า

ตอบโจทย์อย่างแท้จริง! 16 ความต้องการพื้นฐานลูกค้า นำไปสร้างกลยุทธ์ให้ธุรกิจ

พื้นฐานของการทำธุรกิจ อย่างแรกเลยคือต้องรู้ความต้องการของลูกค้าว่าอยากได้อะไร แล้วค่อยผลิตสินค้าขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาในเรื่องนั้นได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้องค์กรอยู่รอด และเติบโตต่อไปในอนาคต

แล้วมีเรื่องอะไรบ้างที่เป็นความต้องการของมนุษย์?

สมองของมนุษย์เป็นผลมาจากการทำงานอันพิถีพิถันของวิวัฒนาการ เป็นระยะเวลานับพันปีที่เกิดการขัดเกลาสมองให้ดีขึ้นเพื่อเป้าหมายให้อยู่รอดในโลกที่เต็มไปด้วยภัยอันตราย แน่นอนว่าการผลิตสินค้าหรือบริการออกมา หากนำไปเทียบเคียงกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์จะต้องมีความเข้าใจเรื่องของปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นตัวช่วยที่จะนำพาหลุดพ้นจากความทุกข์ พร้อมมอบความสุขไปพร้อมกัน

 

 

Steven Reiss นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ศึกษาความต้องการของมนุษย์มาเป็นระยะเวลาหลายปี โดยเป็นการสำรวจครั้งใหญ่จากผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 6,000 คน จาก 4 ทวีป ซึ่งพบว่าผู้คนไม่ว่าจะเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ความเชื่อ หรืออยู่ในสถานที่อาศัยแบบใด ต่างมีความต้องการพื้นฐาน 16 ประการเหมือนกัน ดังนี้

1.Power: พลัง อำนาจ
2.Independence: ความเป็นอิสระ
3.Curiosity: ความอยากรู้
4.Acceptance: การยอมรับ
5. Order: คำสั่ง
6.Saving: ความประหยัด
7.Honour: ความเคารพ นับถือ
8.Idealism: อุดมคติ
9.Social Contact: การติดต่อทางสังคม
10.Family: ครอบครัว
11.Status: สถานะ
12.Vengeance: การแก้แค้น
13.Romance: ความโรแมนติก
14.Eating: การกิน
15.Physical Activity: กิจกรรมทางกาย
16.Tranquility: ความสงบสุข

Reiss และทีมงานมองว่าทุกคนมีความต้องการพื้นฐาน 16 ประการเหมือนกัน โดยแต่ละคนจะให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เช่น ความต้องการเป็นอิสระอาจมีความสำคัญสำหรับบางคน แต่อาจจะสำคัญน้อยกว่าอีกคน

 

 

นอกจากนี้ในเรื่องของ “อารมณ์” ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะบ่อยครั้งลูกบริโภคมักตัดสินใจซื้อด้วยเหตุผลเรื่องของอารมณ์ หากเราจับจุดตรงนี้ได้ก็จะสามารถเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้ด้วยการเล่นกับ “ความรู้สึก” โดยสามารถสร้างได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น สร้างบรรยากาศให้ “ตื่นเต้น” ให้กับผู้พบเห็น, สร้างความ “อบอุ่น” เหมือนกับเป็นครอบครัวเดียวกัน, สร้าง “ความภูมิใจ” เมื่อได้สวมใส่สินค้าชิ้นนี้

 

 

สุดท้ายแล้ว คียเวิร์ดสำคัญที่สุดของการผลิตสินค้าออกมา คือทำอย่างไรให้ชีวิตของลูกค้าดีขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

ที่มา: medium

เรื่องที่เกี่ยวข้อง