สตาร์บัคส์

สตาร์บัคส์ลงทุนไร่กาแฟเพิ่ม เน้นเทคฯ ใช้โดรนเพิ่มผลผลิต

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมกลายเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้ทำธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาดน้อยลง นำมาสู่ราคาซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น

“สตาร์บัคส์” การมองหาความยั่งยืนผ่านการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม จึงเป็นทางออกในเรื่องนี้

 

สตาร์บัคส์

“สตาร์บัคส์” แบรนด์ร้านกาแฟระดับโลกได้ร่วมมือกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทั่วโลกเพื่อขยายโซลูชันรับประกันความยั่งยืนของเมล็ดกาแฟให้กับลูกค้า โดยการลงทุนเพิ่มฟาร์มนวัตกรรมกาแฟเพิ่ม 2 แห่งในกัวเตมาลา และคอสตาริกา รวมถึงลงทุนในฟาร์มแห่งอนาคตในแอฟริกา และเอเชีย

 

สำหรับการลงทุนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มผลผลิตในฟาร์ม เพิ่มผลกำไรทางการเกษตร และบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตกาแฟ สร้างความยืดหยุ่นให้มีมากขึ้น

 

Michelle Burns ผู้บริหารระดับสูงของ Starbuck ฝ่ายกาแฟระดับโลกและความยั่งยืน กล่าวว่า ทำงานร่วมกับฟาร์มมากกว่า 450,000 แห่งที่ปลูกกาแฟอาราบิก้าคุณภาพสูงที่สุดในโลก โดยบริษัทมีคำมั่นสัญญาต่อเกษตกร และชุมชน คือเราจะทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่ากาแฟจะมีอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน ซึ่งวิธีแก้ปัญหาของเราคือการพัฒนาฟาร์ม การแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ การวิจัย และแนวทางปฏิบัติทั่วทั้งอุตสาหกรรมม เพื่อช่วยเกษตรกรบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ฟาร์มนวัตกรรมของ Starbuck

 

Starbucks  ซื้อเมล็ดกาแฟอาราบิก้าคิดเป็น 3% ของโลก โดยมีจุดเด่นในเรื่องของรสชาติที่มีความเข้มข้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมในการจำหน่ายกาแฟคุณภาพสูงทั่วโลก ตลอดจนชุมชนเกษตรที่รับรู้ถึงผลกระทบต่อผลผลิต, คุณภาพของพืชผล และความเป็นอยู่ของพวกเขา เหล่านี้มาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งอุณหภูมิสูงทำให้เกิดภาวะแห้งแล้ง โรคราสนิมใบกาแฟ ยังไม่รวมปัญหาสภาพอากาศอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความพร้อมเรื่องการจำหน่าย คุณภาพ และรสชาตของกาแฟในปัจจุบัน

 

ฟาร์มแห่งใหม่ในกัวเตมาลา และคอสตาริกา จะศึกษาพันธุ์กาแฟลูกผสมภายใต้ระดับความสูง และสภาพดินที่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำวิจัยเพื่อให้เกิดพันธุกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา โดยฟาร์มในคอสตาริกาจะถูกออกแบบมาเพื่อสำรวจการใช้เครื่องจักร, มีโดรน และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนความท้าทายด้านแรงงานที่เกษตรกรชาวละตินอเมริการกำลังเผชิญอยู่ ส่วนในกัวเตมาลาจะถูกจำลองเป็นฟาร์มขนาดเล็ก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ปลูกกาแฟต้องเผชิญในปัจจุบัน

 

 

ฟาร์มนวัตกรรม Starbucks

 

การทำวิจัยเกี่ยวกับฟาร์มนวัตกรรมของ Starbucks จะถูกขยายผ่านเครือข่ายนวัตกรรมกาแฟของบริษัท ผ่านแนวทางหลายแง่มุมเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตด้านกาแฟจะมีอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน นอกเหนือจากฟาร์มนวัตกรรมแล้ว ยังตั้งศูนย์สนับสนุนเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือ สร้างการเรียนรู้ ใช้นวัตกรรมเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป

 

Roberto Vega รองประธานด้านกาแฟ การวิจัยและพัฒนา ความยั่งยืนของStarbucksกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเราจะพัฒนาฟาร์มนวัตกรรมเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงแต่ปรับปรุงผลผลิต และคุณภาพกาแฟเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีเครื่องมือ และความรู้ที่จำเป็นในการรู้เทรนด์การเปลี่ยนแปลงของโลก และสภาพอากาศที่มีความท้าทาย

 

“งานนี้ทำขึ้นเพื่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทุกแห่ง โดยมีผลลัพธ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม และพืชผลอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เช่นกัน” Vega กล่าว

 

ทั้งนี้ Starbucks เปิดสาขาแรกที่เมือง Seattle เมื่อปี 1971 หรือ 46 ปีที่แล้วโดยมีหุ้นส่วน 3 คนเป็นเพื่อนกันสมัยมหาวิทยาลัย เวลาผ่านไป 15 ปี Starbucks ยังมีแค่ 6 สาขาอยู่ในเมือง Seattle เจ้าของเดิมเห็นว่าคงอิ่มตัวแล้ว จึงขายกิจการให้หัวหน้าฝ่ายการตลาดของบริษัท ชื่อ Howard Schultz และตั้งแต่นั้นมาก็เป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักร Starbucks อันยิ่งใหญ่

 

ที่มา: starbucks 1, starbucks 2

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง