“แม่ตุ๊ก” จากสินค้าไม่มีคนซื้อ ฝ่าฟันสู่เจ้าของแบรนด์น้ำปลาร้า สร้างยอดขาย 30 ล้านบาทต่อปี


ธุรกิจที่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานอย่างน้ำปลาร้านับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่หลายคนชอบอย่างมาก นั่นจึงทำให้ธุรกิจนี้โตขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีเหล่าผู้ประกอบการที่กำลังมองหาโอกาสเข้ามาในธุรกิจนี้ แต่สำหรับวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ “แม่ตุ๊ก” บุคคลที่อยู่ในวงการน้ำปลาร้ามากว่า 40 ปี และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันมีการรับผลิตน้ำปลาร้าและสร้างแบรนด์ให้กับคนที่สนใจอีกด้วย

คุณสมคิด อินทรบุตร (แม่ตุ๊ก) เจ้าของบริษัท เอ็ม ที เกษตรแปรรูป จำกัด กล่าวว่า เราเริ่มต้นมาจากศูนย์อยู่แล้ว เราไม่ได้มีต้นทุนอะไรมากมายเราเป็นคนต่างจังหวัด คือออกมาตามเพื่อนทํางานรับจ้างทั่วไป การเกษตรมันปลูกผักปลูกผลไม้ตามฤดูกาล บางครั้งมันล้นตลาด มันได้ทิ้งบ้างอะไรบ้าง เราจะมาทํายังไงให้เกษตรของเราจะได้ไม่ขาดทุน ภูมิปัญญาชาวบ้านของเรานี่เองที่ทําปลาร้าขาย หรือดองผัก เริ่มจากเล็ก ๆ ค่อย ๆ ทําแรก ๆ เราก็ต้มปลาร้า มาทําเป็นขวดทํามาขายไม่ได้ เพราะว่าลูกค้าแบบไม่รับ เหมือนกับว่าเขาติดกับที่ว่ามาตักขายเป็นต่อนเป็นตัว ขายไปขายมาไต้หวันเขามาเห็นเขาก็เลยเอาออกไต้หวัน ทีนี้กลายเป็นขายได้แล้วก็เราก็เลยทํามาทุกวันนี้

พวกปลาน้ําปลาร้ามันไม่สิ้นสุด เราก็ยังงงว่าทําไมคนกินปลาร้าเริ่มเยอะขึ้น ปลาร้าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านสมัยก่อนคนที่กินแล้วไม่กล้ากิน ทุกวันนี้วัยรุ่นดูได้เลยว่ากินเกือบทุกคนเพราะเราทําให้มันสะอาดแล้วก็ปลอดภัยแล้วก็กลิ่นจะไม่เหม็น คือวัยรุ่นอาจจะชอบจนชอบมากทุก เราเห็นเลยว่าพฤติกรรมของคนนี่มันเปลี่ยนไป

คุณสมคิด กล่าวเพิ่มเติมว่าถ้าเราจะทำของเราเองมีเงินเริ่มต้นแค่ห้าหมื่นบาทเราก็เป็นเจ้าของแบรนด์เองได้ค่ะวัยรุ่นตอนนี้ก็กินเยอะไม่ใช่แต่เฉพาะคนแก่คนเฒ่า บางคนที่แบบอยากจะมีแบรนด์ของตัวเองขยันการตลาดหรือว่าเราตําส้มตําอยู่แล้ว เราอยากจะขายเราก็อาจจะขายได้ ตอนนี้เราก็มีหลายหลายเจ้าที่ให้เราทำให้ เราทำโออีเอ็มให้กับหลาย ๆ แบรนด์ปีหนึ่งก็ประมาณสามสิบล้านแล้วต่อไปเราอาจจะมีเป้าหมายเป็นร้อยล้าน เพราะว่าเราก็สามารถรับ โออีเอ็มกับลูกค้าได้หลายเจ้าเครื่องไม้เครื่องมือเราค่อนข้างทันสมัย

อยากจะทําธุรกิจเราไม่ต้องมาคิดว่า เราไม่มีทุนเราจะทํายังไงดี เราไม่ได้รวยเหมือนเขา สินค้าแต่ละอย่างไม่ใช่ว่าทําแล้วมันจะราบรื่นไปทุกอย่าง คือเราค่อย ๆ ทํา ค่อยป็นค่อยไป เหมือนกับเรามีทุนน้อยเราก็ทําตามน้อยการตลาดตอนนี้มันก็แข่งขันกันเยอะ หรือมาคุยกันได้ค่ะว่าสินค้าอะไรแบบไหนเราให้คําปรึกษาได้