ฮาลาล

5 สินค้าดาวรุ่งไทยในตลาดฮาลาล และการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยระบบ HAL-Q

ปัจจุบัน ทั่วโลกมีชาวมุสลิมกว่า 1.9 พันล้านคน หรือประมาณ 24% ของประชากรทั้งหมด ทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากหลักศาสนา การเลือกบริโภคสินค้าที่มีเครื่องหมายฮาลาลจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชาวมุสลิม ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่ความสะอาดและความปลอดภัย แต่ยังช่วยสร้างความมั่นใจในคุณภาพอีกด้วย

 

 

ข้อมูลจากกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) พบว่า อุตสาหกรรมไทยมีศักยภาพในการแข็งขัน จากวัตถุดินในประเทศที่มีความหลากหลาย มีความอุดผสมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูก ประกอบกับกับการส่งเสริมจากภาครัฐที่ยกระดับไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมและการยกระดับผลิตภัตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ โดยสินค้า ฮา ลาลไทยที่มีศักยภาพ 5 ประเภท ประกอบด้วย

1. อาหาร อาหารเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดโลก ปัจจุบันตลาดอาหารฮาลาลทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 2.34 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อสัตว์ สัตว์น้ำ ผักผลไม้ และนม ที่มีความต้องการสูง

2. แฟชั่นสำหรับชาวมุสลิม คาดว่าการจับจ่ายสินค้ากลุ่มนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6% ต่อปี และมีมูลค่าสูงถึง 428 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2570

3. เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล เครื่องสำอางฮา.ลาลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในตลาดเครื่องสำอางทั่วโลก คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 4.2% โดยในปี 2573 คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 3.64 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 12.38 ล้านล้านบาท

4. การท่องเที่ยว ฮา ลาล ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่มองหาบริการที่สอดคล้องกับหลักศาสนา โดยปี 2571 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวมุสลิมทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 230 ล้านคน

5. เวชภัณฑ์ ฮา ลาล เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากผู้บริโภคมุสลิมให้ความสำคัญกับการใช้ยาที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายชารีอะห์ (Shara Penal Code) คาดว่าภายในปี 2573 มูลค่าตลาดเวชภัณฑ์ทั่วโลกจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มประเทศที่มีการใช้จ่ายด้านเวชภัณฑ์มากที่สุด คือ ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐฯ

ก้าวสำคัญสู่มาตรฐานอาหาร ฮา ลาล ระดับโลก แนะนำให้ SME รู้จักระบบ HAL-Q มาตรฐานคุณภาพที่เข้ามายกระดับธุรกิจอาหารในยุคดิจิทัล โดยระบบ HAL-Q ออกแบบมาให้รูปแบบการผลิตในโรงงาน สอดคล้องกับแนวทาง “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” เกิดการผลิตอาหารเป็นไปตามหลักศาสนา ควบคู่กับการบูรณาการกับมาตรฐานสากลอื่นๆ เช่น GMP, HACCP, ISO, BRC ฯลฯ และสอดคล้องกับระเบียบของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดย HAL-Q ย่อมาจาก

• H: Hygiene ความสะอาดปลอดภัยของอาหาร
• A: Assurance การรับประกัน ความมั่นใจในอาหารที่ผลิต
• L: Liability การยอมรับผิด/การรับผิดชอบในอาหารที่ผลิต
• Q: Quality คุณภาพของอาหาร

สำหรับระบบ HAL-Q จะทำให้การผลิตอาหารฮา.ลาลเป็นไปตามหลักศาสนา ควบคู่กับการบูรณาการกับมาตรฐานสากลอื่นๆ เช่น GMP, HACCP, ISO, BRC ฯลฯ และสอดคล้องกับระเบียบของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งการใช้ HAL-Q ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการและตรวจสอบย้อนกลับทุกขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล และอุตสาหกรรมอาหาร

เรื่ีองที่เกี่ยวข้อง