SUBWAY ร้านแซนด์วิชเริ่มต้นจากเด็กที่อยากหาเงินไปเรียนแพทย์ สู่แฟรนไชส์ดังระดับโลก
SUBWAY ร้านแซนด์วิชชื่อดังสัญชาติสหรัฐฯ ประเภทร้านอาหารบริการด่วน (Quick Service Restaurant QSR) ที่สร้างรายได้หลายหมื่นล้าน มีสาขา 36,000 แห่งใน 100 ประเทศ แม้ช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจต้องพบกับจุดเปลี่ยนหลายเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ยังเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจกับเส้นทางการสร้างแบรนด์
จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อ Fred Deluca เด็กอายุ 17 ปี ที่อยากหาเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเรียนแพทย์ จึงตัดสินใจขอยืมเงินพ่อ แต่พ่อของเขาได้ให้เงิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีจุดประสงค์ให้นำไปลงทุนทำธุรกิจ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแฟรนไชส์ดังแบรนด์นี้
Smartsme จะพาย้อนกลับไปสู่ช่วงเริ่มต้นที่แสนยากลำบาก สู่การเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยกลยุทธ์การตลาด ตลอดจนความท้าทายที่ต้องเผชิญตลอดมาในเส้นทางธุรกิจ
จุดกำเนิดความคิด
ไอเดียเปิดร้านแซนด์วิชเกิดขึ้นจาก Dr. Buck ผู้เป็นพ่อของ Fred Deluca ให้ทำธุรกิจนี้ โดยเริ่มแรกตั้งชื่อร้านว่า “Pete’s Super Submarines” ในปี 1965 ด้วยแนวทางการเสิร์ฟแนวใหม่ ไม่มีร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดทั่วไปทำกัน นั่นคือการทำแซนด์วิชแบบสดใหม่ ขายในราคาไม่แพง
ความท้าทายในเริ่มแรกและนวัตกรรม
สาขาแรกตั้งอยู่ในโลเคชันที่ไม่ค่อยดีนัก ดังนั้น ทั้งคู่ต้องทำการบ้านอย่างหนักเพื่อดึงดูดลูกค้า ตลอดจนเรื่องเงินทุนที่มีจำกัด การแข่งขันที่รุนแรง และเรื่องที่ต้องเรียนรู้เมื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมร้านอาหาร โดยหนึ่งในนวัตกรรมที่สร้างโดดเด่นให้กับแบรนด์ คือการใช้เครื่องปิ้งขนมปังเพื่อทำให้ขนมปังสำหรับทำแซนด์วิชมีความกรอบ
ขนมปังที่อุ่น และกรอบกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างความแตกต่างอยากรวดเร็วเหนือกว่าคู่แข่ง
รีแบรนด์และเติบโต
ในปี 1968 มีการตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น “SUBWAY” การสร้างแบรนด์ใหม่นี้พิสูจน์แล้วเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัท โดยชื่อใหม่นี้ไม่เพียงแค่ดึงดูด แต่ยังก่อให้เกิดความคิดในการเดินทางอย่างรวดเร็วจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอีกด้วย สอดคล้องกับแนวคิดอาหารจานด่วน
เมื่อชื่อเสียงของแบรนด์เริ่มไปที่รู้จักก็ได้เริ่มขยายสู่แฟรนไชส์ ด้วยโมเดลธุรกิจทำให้แบรนด์ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว
ทำเมนูที่มีผลต่อสุขภาพ
หนึ่งในกุญแจสู่ความสำเร็จของแบรนด์คือการปรับตัวตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 คนอเมริกันมีความใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น ด้วยเทรนด์ที่กำลังมาพวกเขาจึงวางตัวเองในเป็นตัวเลือกอาหารจานด่วนที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น การเปิดแคมเปญ “7 Under 6” เน้นที่แซนด์วิชที่มีไขมันน้อยกว่า 6 กรัม
การเน้นยำทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพช่วยให้แบรนด์ขยายฐานลูกค้า ดึงดูดผู้ที่กำลังมองหาทางเลือกในการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ แบบไม่ต้องเสียอรรถรส
ขยายสาขาไปทั่วโลก
เมื่อธุรกิจเริ่มแข็งแกร่งในสหรัฐฯ ก็ถึงเวลาที่แบรนด์จะตั้งเป้าหมายขยายตัวออกไปในต่างประเทศ โดยในปี 1984 ได้เปิดสาขาแรกที่บาห์เรน นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการขยายแฟรนไชส์ไปเกือบทั่วทุกมุมโลก ซึ่งเส้นทางในระดับนานาชาติของแบรนด์ถือว่าประสบความสำเร็จ และปรับตัวได้ดี เป็นผลมาจากการตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเมนูเพื่อตอบโจทย์รสนิยม และความชอบด้านอาหารของคนในท้องถิ่น
กลยุทธ์การตลาดและพาร์ทเนอร์
การตลาดของแบรนด์ถือว่าอยู่ในความสนใจ โดยแบรนด์มักจะเน้นการชูจุดเด่นเรื่องของความสดใหม่และดีต่อสุขภาพ ผ่านสโลแกนที่ว่า “Eat Fresh” ซึ่งกลายเป็นการสื่อความหมาย และตอกย้ำการรับรู้ว่าเป็นอาหารจานด่วนที่ดีต่อสุขภาพ
นอกจากแคมเปญการตลาดแล้ว แบรนด์ยังสร้างความร่วมมือทางกลยุทธ์หลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือร่วมมือกับ American Heart Association (AHA) จนทำให้แบรนด์กลายเป็นเครือร้านอาหารแห่งแรก และแห่งเดียวที่ได้รับการรับรอง Heart-Check ว่าเป็นมื้ออาหารเพื่อสุขภาพหัวใจ
การทรานฟอร์มส์ธุรกิจ
การเดินทางเข้าสู่ยุคดิจิทัลกลายเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารจานด่วน ทำให้แบรนด์ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น การสั่งออเดอร์ผ่านออนไลน์ และแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน เหล่านี้ไม่ใช่แค่ตามเทรนด์เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังทำให้บริษัทได้ข้อมูลเกี่ยวกับความชอบ และพฤติกรรมของลูกค้าอีกด้วย
นี่คือสิ่งที่ไม่มีใครคิดว่าจากเด็กอายุ 17 ปี ที่อยากทำธุรกิจเพื่อส่งตัวเองเรียนแพทย์ มาวันนี้ธุรกิจได้เติบโตกลายเป็นร้านแฟรนไชส์ที่มีมากกว่า 30,000 สาขาทั่วโลก เป็นรองแค่แมคโดนัลด์เท่านั้น
บางทีโอกาสความสำเร็จก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว
ที่มา: subwayfranchise, fmsfranchise
เรื่องที่เกี่ยวข้อง